top of page

SONG FROM THE FOREST

Sinvaravatn explores Cold War-era forest landscapes as battlegrounds where the Communist Party of Thailand clashed with the Thai state. His work is inspired by Luan Kejornsart, a Silpakorn-trained artist who documented his fellow communist insurgents in the Phu Phan mountains. Luan’s drawings vividly capture the tense atmosphere of revolution, reflecting a civil war embedded within the region’s broader proxy conflicts. His works serve as a point of departure for Sinvaravatn, who reinterprets these landscapes from a younger generation’s perspective.

In A Song from the Forest, Sinvaravatn revisits Thailand’s former “red zones,” portraying them in muted tones that evoke silence—yet not stillness. During the National Economic and Social Development Plans, state infrastructure projects reshaped the region, displacing communities and altering the meaning of the land. In Night After Night, he turns to Dong Phayayen, once a strategic route for military operations, now repurposed as a national park for leisure and study. Message from the North recalls the Cold War-era slogan “Danger from the North”, a propaganda tool to instill fear of communism. Stars shimmer in the night sky, yet an eerie tension suggests unseen surveillance. The Ballad of Spectre reflects a full moon over a remote reservoir, evoking Duean Phen (“Full Moon”), a song by Nai Phi, composed during a time of political suppression. Sinvaravatn’s paintings blur past and present, questioning belonging and the spectral presence of history in the land.

"Song from the Forest" participated in the exhibition The Shattered Worlds: Micro Narratives from the Ho Chi Minh Trail to the Great Steppe, to celebrate the 50th anniversary of the James H.W. Thompson Foundation, curated by Gridthiya Gaweewong, with Rinrada Na Chiangmai and Chanapol Janhom at Bangkok Art and Culture Centre (2025).

บทเพลงจากป่าเขา

วัชรนนท์สนใจภูมิทัศน์ป่าเขาในช่วงสงครามเย็น ในฐานะสมรภูมิสู้รบระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยกับรัฐไทย ผ่านผลงานของล้วน เขจรศาสตร์ ศิลปินจากรั้วศิลปากร ผู้บันทึกภาพสหายร่วมรบในเขตเทือกเขาภูพาน ล้วนถ่ายทอดบรรยากาศตึงเครียดของการปฏิวัติออกมาได้อย่างแม่นยำ สะท้อนถึงช่วงเวลาแห่งสงครามกลางเมือง ซึ่งเป็นสมรภูมิย่อยของสงครามตัวแทนในภูมิภาคนี้ ผลงานวาดเส้นของล้วนเป็นจุดเริ่มต้นให้วัชรนนท์ถ่ายทอดเรื่องราวจากป่าเขาในเวลาต่อมาด้วยสายตาของคนรุ่นหลัง

ผลงานชุด บทเพลงจากป่าเขา วัชรนนท์ถ่ายทอดทิวทัศน์ในพื้นที่ “สีแดง” นำเสนอผ่านโทนสีและองค์ประกอบที่ให้ความรู้สึกเงียบงันแต่ไม่สงบนิ่ง ในช่วงสมัยที่มีการประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ที่เริ่มมีการสร้างสาธารณูปโภคในภูมิภาคต่างๆ อาทิ ถนนสู่ภาคอีสาน ความพยายามในการขยายอำนาจจากศูนย์กลางทำให้ภาพทิวทัศน์ที่มีอยู่เดิมแปรเปลี่ยนความหมายไป ผู้คนในพื้นที่ถูกคุกคามและผลักออกไปในพื้นที่ชายขอบ ปฏิเสธไม่ได้ว่าความเป็นเจ้าของพื้นที่นั้นเปลี่ยนไปเช่นกัน ในผลงาน คืนแล้วคืนเล่า สะท้อนภาพทิวทัศน์ดงพญาเย็น พื้นที่ซึ่งเคยเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ในการลำเลียงกำลังพลเพื่อปิดล้อมคอมมิวนิสต์ในอดีต ซึ่งในปัจจุบันได้กลายเป็นอุทยานแห่งชาติ ให้ผู้คนได้มาศึกษาธรรมชาติและพักผ่อนหย่อนใจในช่วงวันหยุด ผลงาน ข้อความจากแดนเหนือ พาเราย้อนนึกถึงข้อความที่ว่า ‘อันตรายจากทิศเหนือ’ โปสเตอร์โฆษณาชวนเชื่อที่สื่อสารถึงภัยของคอมมิวนิสต์ที่คืบคลานมา มุ่งหมายจะหยั่งรากความกลัว แสงดาวบนผืนฟ้ากระยิบระยับมากมาย หากแต่วังเวงด้วยนัยยะของการถูกจับจ้องจากด้านบน คล้ายบางอย่างกำลังจะเกิดขึ้น และสุดท้าย บทกวีของนายผี ภาพสะท้อนของดวงจันทร์วันเพ็ญลอยเหนืออ่างเก็บน้ำในป่าลึก ชวนให้นึกถึงบทเพลงเดือนเพ็ญ หรือ เพลงคิดถึงบ้าน แต่งโดย อัศนี พลจันทร์ หรือที่รู้จักกันในชื่อ นายผี ที่แต่งขึ้นจากสภาวะความเข้มข้นทางการเมืองและการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในยุคนั้น วัชรนนท์สร้างมุมมองที่ดึงผู้ชมเข้าไปในห้วงเวลาและบรรยากาศลึกลับ เรากำลังมองออกไปอีกฝั่งหรือในขณะเดียวกันเป็นการมองกลับมายังพื้นที่ที่คุ้นเคย แต่ความแปลกแยกและคำถามของความเป็นพื้นที่ก่อตัวขึ้นตลอดเวลาเมื่อจับจ้องไปที่ภาพจิตรกรรมของวัชรนนท์

ผลงานชุด "บทเพลงจากป่าเขา" ได้ร่วมแสดงในนิทรรศการ โลกร้าว: เรื่องเล่าขนาดย่อมจากเส้นทางโฮจิมินส์ถึงทุ่งหญ้าสเต็ปป์ เพื่อเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 50 ปีของมูลนิธิเจมส์ เอช ดับเบิลยู ทอมป์สัน คัดสรรโดย กฤติยา กาวีวงศ์ ร่วมกับ รินรดา ณ เชียงใหม่ และ ชนพล จันทร์หอม จัดแสดงที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (2025)

bottom of page